ประกาศแล้ว! ในราชกิจจาฯ ‘สำเนาภาพถ่าย’ ใบขับขี่ ถือว่ามี ‘ใบขับขี่ติดตัว’
ข่าววันนี้ –
กลายเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจเป็นอย่างมากหลังจากที่เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ได้มีการเผยแพร่การประกาศพระราชบัญญัติจราจรทางบกฉบับที่ 12 ซึ่งได้มีการเผยเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกเหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีของบุคคลตามพระราชบัญญัติ เพื่อให้แก้ไขปัญหาของผู้ขับขี่ที่ขาดวินัยในการใช้รถใช้ถนนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรในเรื่องทางด้านของข้อกฎบังคับต่างๆซึ่งจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่างๆเพื่อให้สามารถควบคุมและบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพื่อให้มีการใช้และจัดระเบียบการจราจรให้มีประโยชน์และก็ปลอดภัยต่อสาธารณะและสวัสดิภาพของประชาชนซึ่งได้มีการตราพระราชบัญญัติสอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยแล้วว่า
“มาตรา ๓๑/๑ ในขณะขับรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่อยู่กับตัวและต้องแสดงต่อเจ้าพนักงานจราจรเมื่อขอตรวจในกรณีที่ผู้ขับขี่แสดงใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตขับขี่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ถือว่าผู้ขับขี่มีใบอนุญาตขับขี่อยู่กับตัวตามวรรคหนึ่งแล้ว”
โดยสามารถสรุปประเด็นสำคัญของการแก้ไขปรับปรุงพ. รบจราจรฉบับที่ 12 กพศ 2562 ได้ดังนี้…
1. ในขณะขับขี่ ผู้ขับต้องมีใบขับขี่อยู่กับตัว พร้อมแสดงให้แก่เจ้าหน้าที่ โดยเป็นใบขับขี่ตัวจริง หรือใบขับขี่ดิจิทัล หรือสำเนาภาพถ่ายใบขับขี่ ดังนั้นสำเนาภาพถ่ายใช้ได้ หรือใช้ใบขับขี่ดิจิทัลใช้ได้แล้วนั่นเอง ซึ่งไม่ว่า จะแสดงให้กับเจ้าหน้าที่ในรูปแบบของตัวจริง ดิจิทัล หรือ สำเนาภาพถ่าย ก็ถือได้ว่า ผู้ขับขี่มีใบอนุญาตอยู่กับตัวแล้ว
2. กรณีทำผิดตามกฎหมายจราจร โดยเป็นความผิดที่มีโทษปรับเพียงอย่างเดียว หรือจำคุกไม่เกิน 2 เดือนและมี โทษปรับ จนท. สามารถตักเตือน หรือออกในสั่งแทนได้ โดยในการออกใบสั่งนั้น หากพบการกระทำผิด แต่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ ให้จนท.สามารถแปะ-ห้อย-ติดใบสั่งไว้ที่รถได้ โดยถือว่า เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถได้รับใบสั่งแล้ว
3. หากผู้ขับขี่ไม่อยู่ในสภาพที่สามารถขับขี่ต่อไปได้ หรือเป็นอันตรายต่อผู้อื่น ให้ จนท. สามารถยึดใบขับขี่, ระงับการใช้รถชั่วคราวได้ แต่หากผู้ขับขี่อยู่ในสภาพที่สามารถขับขี่ต่อไปได้ ให้จนท.คืนใบขับขี่, อนุญาตให้ขับขี่ต่อไปได้ เมื่อผู้ขับขี่อยู่ในสภาพพร้อมขับขี่ ไม่เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นแล้ว กรณีเจ้าหน้าที่พบว่า ผู้ขับขี่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามในการได้รับใบอนุญาตขับขี่ ให้เจ้าหน้าที่สามารถยึดใบขับขี่ โดยแจ้งสั่งยึดพร้อมเหตุผลให้ผู้ขับขี่ทราบ และมอบหลักฐานการยึดไว้กับผู้ขับขี่ไว้เป็นหลักฐานด้วย และแจ้งต่อนายทะเบียนดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
4. ให้ สตง. จัดทำระบบบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับขี่รถ โดยหากผู้ขับขี่ถูกตัดแต้มจนหมดตามที่กำหนดไว้แล้ว ให้พักใบขับขี่ 90 วัน และเข้าอบรมตามหลักสูตร หากมีค่าใช้จ่ายต้องออกเอง กรณีผู้ขับขี่ทำให้เกิดอันตรายร้ายแรง หรือหลบหนี ให้เพิกถอนใบขับขี่ได้ไม่เกิน 90 วัน และถ้าถูกพักใบขับขี่ เกิน 2ครั้งในรอบ 3 ปี และ จนท. เห็นว่า ควรพักใบขับขี่เดิน 90 วัน ก็สามารถแจ้งขนส่งยึดใบขับขี่เพิ่มเติมได้ กรณีทำผิดซ้ำในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี และ เจ้าหน้าที่มีความเห็นว่า ควรเพิกถอนใบขับขี่ ก็สามารถแจ้งขนส่งเพิกถอนได้ โดยในการแจ้งเพิกถอนใบขับขี่เพิ่มเติมนั้น จะต้องเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้บัญชาการหรือเทียบเท่าที่ได้รับมอบหมายจาก ผบ. ตร. เป็นผู้ดำเนินการแจ้งนายทะเบียนดำเนินการ
5. กรณีที่เจ้าของรถที่กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล หากตัวแทนของนิติบุคคลไม่แจ้งว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำผิด หรือดำเนินการ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องระวังโทษปรับในอัตรา 5 เท่าของค่าปรับสูงสุด
ขอบคุณบทความดีๆจาก https://hunsa.siamtodaynews.com/26914?fbclid=IwAR3eK5rYsZP-QF7aAxAIySRC6sKQf0jk9sHCN08a1CsJLla3TYnEdQzvuzw